อุปนิสัยสีเขียว & ธรรมาภิบาลสีเขียว เพื่อเราทุกคน
นงค์นาถ ห่านวิไล
เริ่มมีการพูดถึงคำว่า Green Concept กันมากในปี 2553 และคาดว่าจะเป็นเทรนด์ของกลยุทธ์องค์กรและซีเอสอาร์ที่จะมาแรงในปี 2554 เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมโลก ที่กำลังส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์อย่างรุนแรงขึ้นทุกขณะ อันเนื่องมาจากกิจกรรมที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งอุตสาหกรรม ธุรกิจและการบริโภค จึงเกิดนวัตกรรมทางความคิดที่ต่อยอด Green Concept สู่ อุปนิสัยสีเขียว (green habits) และ ธรรมาภิบาลสีเขียว green governance ภายใต้ "กลยุทธ์น่านน้ำสีเขียว" หรือ "Green Ocean Strategy" ขึ้นมาเมื่อเร็วๆ นี้ โดย สถาบันไทยพัฒน์ บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด มหาชน และ ดีแทค
คนต้นคิด "Green Ocean Strategy ต้องการปลุกกระแสสีเขียวอย่างจริงจัง เพื่อโลกใบนี้ โดยร่วมกันดูแลรักษาและเยียวยาด้วยการพัฒนาที่เรียกว่าเป็น มิตรต่อสิ่งแวดล้อม และคำง่ายๆ สั้นๆ ที่แทนเรื่องสิ่งแวดล้อม ก็คือ สีเขียว (Green)
ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการ สถาบันไทยพัฒน์ บอกว่าเมื่อพูดเรื่องสิ่งแวดล้อม ก็จะโยงไปถึงภาคธุรกิจที่ใช้ทรัพยากรและปล่อยของเสียออกมาสู่สิ่งแวดล้อมจนเกิดปัญหา มลภาวะต่างๆ มากมาย " Green Ocean Strategy " จึงมุ่งไปที่การปลุกองค์กรธุรกิจ ด้วย ระบบ นั่นคือ green governance และปลุกพฤติกรรมในหมู่ผู้บริโภค ด้วย green habits
สำหรับ ระบบ คือ เรื่องธรรมาภิบาลสีเขียว สามารถที่จะจำแนกออกได้เป็น 3 หมวดใหญ่ๆ ได้แก่ ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร (Resource Efficiency) ภาระรับผิดชอบในกระบวนการ (Process Accountability) และประสิทธิผลในตัวผลิตภัณฑ์ (Product Effectiveness) ส่วนการสร้าง อุปนิสัยสีเขียวตามแนวคิด Green Ocean ประกอบด้วย 7 green habits ได้แก่ Rethink - Reduce - Reuse - Recycle - Recondition - Refuse - Return ซึ่งในเรื่องระบบภาคอุตสาหกรรมนั้นคุ้นเคยกับ 3R ได้แก่ การลดการใช้วัสดุ (Reduce) การประหยัดพลังงาน (Reuse) และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) แต่พฤติกรรมที่ธุรกิจกระทำอยู่เป็นปกติสนใจแต่เพียงว่าทำอย่างไรจึงจะใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาจยังไม่ได้ต่อยอดไปสู่โมเดลธุรกิจใหม่ๆ เช่น การปรับเปลี่ยนการใช้พลังงานจากถ่านหินไปสู่อินทรียวัตถุ หรือการปรับสภาพกระบวนการภายในด้วยการเปลี่ยนหรือซ่อมเครื่องจักร
อย่างไรก็ตาม ความเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้น ก็ต่อเมื่อเรามีความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงด้วยตนเอง กระแสการรณรงค์เรื่องโลกร้อนจะไม่เกิดผลสำเร็จใดๆ หากทุกคนที่ได้รับฟังข้อมูลไม่ตระหนักว่าตนเองต้องเปลี่ยนแปลง การรอคอยให้ผู้อื่นทำไปก่อน แล้วเราจึงค่อยคิดจะทำนั้น จะทำให้ท่านได้รับการดูแลจากธรรมชาติเป็นคนท้ายๆ
ในการรณรงค์ เรื่องของ กลยุทธ์ Green Ocean Strategy ที่จะมีขึ้นอย่างเข้มข้นไปปีหน้านั้น จึงต้องการให้เกิด 7 green habits ในสังคมไทยอย่างกว้างขวาง เริ่มกันตั้งแต่ อุปนิสัยแรก คือ Reduce อย่างที่รู้กันว่า โลกร้อน เมื่อเราเผาผลาญทรัพยากรเกินขีดจำกัดที่ธรรมชาติจะหมุนเวียนได้ทัน โลกบูด เพราะเราบริโภคเกินจนเกิดขยะและของเสียที่ไม่สามารถย่อยสลายตามธรรมชาติได้ทัน จงช่วยกันลดการใช้ทรัพยากรให้เหลือแต่เท่าที่จำเป็น และช่วยกันลดการบริโภคเพื่อไม่ให้เกิดขยะและของเสียจำนวนมากอย่างที่เป็นอยู่
Reuse สำรวจของที่ซื้อมาแล้วเพิ่งใช้เพียงหนเดียวว่า สามารถใช้ประโยชน์ซ้ำได้หรือไม่ หาวิธีการใช้บรรจุภัณฑ์ซ้ำ หรือหลีกเลี่ยงบรรจุภัณฑ์ชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง การซื้อของมีคุณภาพที่ราคาสูงกว่า แต่ใช้งานได้ทนนาน จะดีกว่าซื้อของที่ด้อยคุณภาพในราคาถูก แต่ใช้งานได้เพียงไม่กี่ครั้ง
Recycle เป็นการนำวัสดุที่หมดสภาพหรือที่ใช้แล้วมาปรับสภาพเพื่อนำมาใช้ใหม่ เริ่มลงมือปรับแต่งของใช้แล้วในบ้านให้เกิดประโยชน์ใหม่ ช่วยกันคัดแยกขยะหรือวัสดุเหลือใช้ที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้เองมอบให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดีกว่าทิ้งให้เสื่อมโทรมหรือเก็บไว้เฉยๆ โดยเปล่าประโยชน์
Recondition ของหลายอย่างสามารถปรับแต่งซ่อมแซมแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ได้ดังเดิม จงพยายามใช้ของให้ถูกวิธีเพื่อหลีกเลี่ยงการชำรุดเสียหายก่อนเวลาอันควร และหากสิ่งของใดมีกำหนดเวลาที่ต้องบำรุงรักษา ให้หมั่นตรวจสอบและปฏิบัติตามตารางการบำรุงรักษา เพื่อยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้น
Refuse การปฏิเสธเป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดไม่ให้ถูกนำมาใช้หรือถูกทำลายเร็วขึ้น และเพื่อให้เวลาธรรมชาติในการฟื้นสภาพตัวเองตามระบบนิเวศ เริ่มจากสิ่งนอกตัว เช่น สินค้าฟุ่มเฟือย สิ่งที่เราต้องเติมใส่ร่างกาย เช่น อาหารนำเข้า จนถึงสิ่งที่อยู่ข้างในกาย คือ จิตใจ เพราะเมื่อจิตร้อน กายก็ร้อน สิ่งรอบข้างก็ได้รับกระแสร้อน สุดท้ายทั้งโลกก็ร้อนขึ้น
Return หน้าที่หนึ่งของมนุษย์ในฐานะผู้อาศัยโลกเป็นที่พักพิง คือ การตอบแทนคืนแก่โลก ใครใช้ทรัพยากรใดจากธรรมชาติเยอะ ก็ต้องคืนทรัพยากรนั้นกลับให้มากๆ พยายามอย่าติดหนี้โลก เพราะวันหนึ่งโลกจะมาทวงหนี้จากท่าน ตราบที่ท่านยังต้องเวียนว่ายตายเกิดบนโลกใบนี้
กลยุทธ์น่านน้ำสีเขียว หรือ Green Ocean Strategy จึงเป็นหนทางที่จะช่วยธุรกิจยกระดับการทำงานเพื่อให้ได้มาซึ่งกำไรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และโอกาสในการเข้าถึงตลาดที่มีความต้องการเรื่องการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งการตอบสนองต่อพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีความห่วงใยในความปลอดภัย สุขอนามัย และคุณภาพชีวิต ภายใต้วิถีแห่งการบริโภคที่ยั่งยืนซึ่งเป็นกระแสหลักของโลกอยู่ในขณะนี้
[Original Link]
เริ่มมีการพูดถึงคำว่า Green Concept กันมากในปี 2553 และคาดว่าจะเป็นเทรนด์ของกลยุทธ์องค์กรและซีเอสอาร์ที่จะมาแรงในปี 2554 เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมโลก ที่กำลังส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์อย่างรุนแรงขึ้นทุกขณะ อันเนื่องมาจากกิจกรรมที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งอุตสาหกรรม ธุรกิจและการบริโภค จึงเกิดนวัตกรรมทางความคิดที่ต่อยอด Green Concept สู่ อุปนิสัยสีเขียว (green habits) และ ธรรมาภิบาลสีเขียว green governance ภายใต้ "กลยุทธ์น่านน้ำสีเขียว" หรือ "Green Ocean Strategy" ขึ้นมาเมื่อเร็วๆ นี้ โดย สถาบันไทยพัฒน์ บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด มหาชน และ ดีแทค
คนต้นคิด "Green Ocean Strategy ต้องการปลุกกระแสสีเขียวอย่างจริงจัง เพื่อโลกใบนี้ โดยร่วมกันดูแลรักษาและเยียวยาด้วยการพัฒนาที่เรียกว่าเป็น มิตรต่อสิ่งแวดล้อม และคำง่ายๆ สั้นๆ ที่แทนเรื่องสิ่งแวดล้อม ก็คือ สีเขียว (Green)
ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการ สถาบันไทยพัฒน์ บอกว่าเมื่อพูดเรื่องสิ่งแวดล้อม ก็จะโยงไปถึงภาคธุรกิจที่ใช้ทรัพยากรและปล่อยของเสียออกมาสู่สิ่งแวดล้อมจนเกิดปัญหา มลภาวะต่างๆ มากมาย " Green Ocean Strategy " จึงมุ่งไปที่การปลุกองค์กรธุรกิจ ด้วย ระบบ นั่นคือ green governance และปลุกพฤติกรรมในหมู่ผู้บริโภค ด้วย green habits
สำหรับ ระบบ คือ เรื่องธรรมาภิบาลสีเขียว สามารถที่จะจำแนกออกได้เป็น 3 หมวดใหญ่ๆ ได้แก่ ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร (Resource Efficiency) ภาระรับผิดชอบในกระบวนการ (Process Accountability) และประสิทธิผลในตัวผลิตภัณฑ์ (Product Effectiveness) ส่วนการสร้าง อุปนิสัยสีเขียวตามแนวคิด Green Ocean ประกอบด้วย 7 green habits ได้แก่ Rethink - Reduce - Reuse - Recycle - Recondition - Refuse - Return ซึ่งในเรื่องระบบภาคอุตสาหกรรมนั้นคุ้นเคยกับ 3R ได้แก่ การลดการใช้วัสดุ (Reduce) การประหยัดพลังงาน (Reuse) และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) แต่พฤติกรรมที่ธุรกิจกระทำอยู่เป็นปกติสนใจแต่เพียงว่าทำอย่างไรจึงจะใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาจยังไม่ได้ต่อยอดไปสู่โมเดลธุรกิจใหม่ๆ เช่น การปรับเปลี่ยนการใช้พลังงานจากถ่านหินไปสู่อินทรียวัตถุ หรือการปรับสภาพกระบวนการภายในด้วยการเปลี่ยนหรือซ่อมเครื่องจักร
อย่างไรก็ตาม ความเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้น ก็ต่อเมื่อเรามีความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงด้วยตนเอง กระแสการรณรงค์เรื่องโลกร้อนจะไม่เกิดผลสำเร็จใดๆ หากทุกคนที่ได้รับฟังข้อมูลไม่ตระหนักว่าตนเองต้องเปลี่ยนแปลง การรอคอยให้ผู้อื่นทำไปก่อน แล้วเราจึงค่อยคิดจะทำนั้น จะทำให้ท่านได้รับการดูแลจากธรรมชาติเป็นคนท้ายๆ
ในการรณรงค์ เรื่องของ กลยุทธ์ Green Ocean Strategy ที่จะมีขึ้นอย่างเข้มข้นไปปีหน้านั้น จึงต้องการให้เกิด 7 green habits ในสังคมไทยอย่างกว้างขวาง เริ่มกันตั้งแต่ อุปนิสัยแรก คือ Reduce อย่างที่รู้กันว่า โลกร้อน เมื่อเราเผาผลาญทรัพยากรเกินขีดจำกัดที่ธรรมชาติจะหมุนเวียนได้ทัน โลกบูด เพราะเราบริโภคเกินจนเกิดขยะและของเสียที่ไม่สามารถย่อยสลายตามธรรมชาติได้ทัน จงช่วยกันลดการใช้ทรัพยากรให้เหลือแต่เท่าที่จำเป็น และช่วยกันลดการบริโภคเพื่อไม่ให้เกิดขยะและของเสียจำนวนมากอย่างที่เป็นอยู่
Reuse สำรวจของที่ซื้อมาแล้วเพิ่งใช้เพียงหนเดียวว่า สามารถใช้ประโยชน์ซ้ำได้หรือไม่ หาวิธีการใช้บรรจุภัณฑ์ซ้ำ หรือหลีกเลี่ยงบรรจุภัณฑ์ชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง การซื้อของมีคุณภาพที่ราคาสูงกว่า แต่ใช้งานได้ทนนาน จะดีกว่าซื้อของที่ด้อยคุณภาพในราคาถูก แต่ใช้งานได้เพียงไม่กี่ครั้ง
Recycle เป็นการนำวัสดุที่หมดสภาพหรือที่ใช้แล้วมาปรับสภาพเพื่อนำมาใช้ใหม่ เริ่มลงมือปรับแต่งของใช้แล้วในบ้านให้เกิดประโยชน์ใหม่ ช่วยกันคัดแยกขยะหรือวัสดุเหลือใช้ที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้เองมอบให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดีกว่าทิ้งให้เสื่อมโทรมหรือเก็บไว้เฉยๆ โดยเปล่าประโยชน์
Recondition ของหลายอย่างสามารถปรับแต่งซ่อมแซมแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ได้ดังเดิม จงพยายามใช้ของให้ถูกวิธีเพื่อหลีกเลี่ยงการชำรุดเสียหายก่อนเวลาอันควร และหากสิ่งของใดมีกำหนดเวลาที่ต้องบำรุงรักษา ให้หมั่นตรวจสอบและปฏิบัติตามตารางการบำรุงรักษา เพื่อยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้น
Refuse การปฏิเสธเป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดไม่ให้ถูกนำมาใช้หรือถูกทำลายเร็วขึ้น และเพื่อให้เวลาธรรมชาติในการฟื้นสภาพตัวเองตามระบบนิเวศ เริ่มจากสิ่งนอกตัว เช่น สินค้าฟุ่มเฟือย สิ่งที่เราต้องเติมใส่ร่างกาย เช่น อาหารนำเข้า จนถึงสิ่งที่อยู่ข้างในกาย คือ จิตใจ เพราะเมื่อจิตร้อน กายก็ร้อน สิ่งรอบข้างก็ได้รับกระแสร้อน สุดท้ายทั้งโลกก็ร้อนขึ้น
Return หน้าที่หนึ่งของมนุษย์ในฐานะผู้อาศัยโลกเป็นที่พักพิง คือ การตอบแทนคืนแก่โลก ใครใช้ทรัพยากรใดจากธรรมชาติเยอะ ก็ต้องคืนทรัพยากรนั้นกลับให้มากๆ พยายามอย่าติดหนี้โลก เพราะวันหนึ่งโลกจะมาทวงหนี้จากท่าน ตราบที่ท่านยังต้องเวียนว่ายตายเกิดบนโลกใบนี้
กลยุทธ์น่านน้ำสีเขียว หรือ Green Ocean Strategy จึงเป็นหนทางที่จะช่วยธุรกิจยกระดับการทำงานเพื่อให้ได้มาซึ่งกำไรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และโอกาสในการเข้าถึงตลาดที่มีความต้องการเรื่องการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งการตอบสนองต่อพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีความห่วงใยในความปลอดภัย สุขอนามัย และคุณภาพชีวิต ภายใต้วิถีแห่งการบริโภคที่ยั่งยืนซึ่งเป็นกระแสหลักของโลกอยู่ในขณะนี้
[Original Link]