นายกรัฐมนตรีชูเศรษฐกิจสีเขียว
เพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ในที่ประชุมสุดยอดเอเชีย-ยุโรป
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวสรุปผลการเข้าร่วมประชุมสุดยอดเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 8 ณ กรุงบรัสเซสส์ ราชอาณาจักรเบลเยี่ยม ระหว่างวันที่ 3-6 ตุลาคม 2553 ดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงการประชุมอาเซมสองวันที่ผ่านมาว่า ผู้นำอาเซมให้การสนับสนุนการปฏิรูประบบ การกำกับดูแลด้านการเงินของโลก และเห็นสอดคล้องร่วมกับที่ประชุม G20 ที่ต้องการผลักดันให้เกิดการปฏิรูปทางการเงินในหลายๆ ด้าน เช่น เดียวกับไทยที่อยากเห็นการปรับโครงสร้างทั้งธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปต้องฟังเสียงของเศรษฐกิจใหม่ที่กำลังพัฒนาด้วย รวมทั้งต้องมีการประสานงานการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจช่วงต่อไป เพราะการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังมีความเปราะบาง ทั้งการเจรจาการค้าโลก และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
นายกรัฐมนตรียังได้นำเสนอประเด็นต่อที่ประชุมว่า การพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนจำเป็นต้องมีองค์ประกอบสำคัญสามประการ คือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาคน ซึ่งยุโรปเองสามารถมีบทบาทมากขึ้นในการส่งเสริมกระบวนการดังกล่าว ทั้งในแง่ประสบการณ์และวิสัยทัศน์ รวมทั้งการถ่ายทอดทางเทคโนโลยี
ที่ประชุมอาเซมยังได้แสดงความสนใจประเด็นระดับโลกและภูมิภาค โดยเฉพาะสถานการณ์ขัดแย้ง อาทิ เกาหลีเหนือ อิหร่าน หรือ พม่า และพูดคุยถึงแนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้ง กระบวนการปรึกษาหารือ รวมทั้งการมองไปอนาคตข้างหน้าของอาเซมที่จะต้องมีสมาชิกเพิ่มมากขึ้น กลไกในการประสานงาน และการอำนวยความสะดวก การประชุมจะเป็นเวทีที่จะได้ประสานงาน ทั้งภาคธุรกิจ รวมทั้งสมาชิกรัฐสภา
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวว่า ผู้นำประเทศต่างๆ ได้แสดงความสนใจและห่วงใยสถานการณ์การเมืองไทย รวมทั้งเอาใจช่วยให้ประเทศไทยมีสถานการณ์ปกติ และคาดหวังบทบาทของไทยทั้งในภูมิภาคและระดับโลก
[ข่าวทำเนียบ- 6/10/2553]
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวสรุปผลการเข้าร่วมประชุมสุดยอดเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 8 ณ กรุงบรัสเซสส์ ราชอาณาจักรเบลเยี่ยม ระหว่างวันที่ 3-6 ตุลาคม 2553 ดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงการประชุมอาเซมสองวันที่ผ่านมาว่า ผู้นำอาเซมให้การสนับสนุนการปฏิรูประบบ การกำกับดูแลด้านการเงินของโลก และเห็นสอดคล้องร่วมกับที่ประชุม G20 ที่ต้องการผลักดันให้เกิดการปฏิรูปทางการเงินในหลายๆ ด้าน เช่น เดียวกับไทยที่อยากเห็นการปรับโครงสร้างทั้งธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปต้องฟังเสียงของเศรษฐกิจใหม่ที่กำลังพัฒนาด้วย รวมทั้งต้องมีการประสานงานการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจช่วงต่อไป เพราะการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังมีความเปราะบาง ทั้งการเจรจาการค้าโลก และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
นายกรัฐมนตรียังได้นำเสนอประเด็นต่อที่ประชุมว่า การพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนจำเป็นต้องมีองค์ประกอบสำคัญสามประการ คือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาคน ซึ่งยุโรปเองสามารถมีบทบาทมากขึ้นในการส่งเสริมกระบวนการดังกล่าว ทั้งในแง่ประสบการณ์และวิสัยทัศน์ รวมทั้งการถ่ายทอดทางเทคโนโลยี
ที่ประชุมอาเซมยังได้แสดงความสนใจประเด็นระดับโลกและภูมิภาค โดยเฉพาะสถานการณ์ขัดแย้ง อาทิ เกาหลีเหนือ อิหร่าน หรือ พม่า และพูดคุยถึงแนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้ง กระบวนการปรึกษาหารือ รวมทั้งการมองไปอนาคตข้างหน้าของอาเซมที่จะต้องมีสมาชิกเพิ่มมากขึ้น กลไกในการประสานงาน และการอำนวยความสะดวก การประชุมจะเป็นเวทีที่จะได้ประสานงาน ทั้งภาคธุรกิจ รวมทั้งสมาชิกรัฐสภา
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวว่า ผู้นำประเทศต่างๆ ได้แสดงความสนใจและห่วงใยสถานการณ์การเมืองไทย รวมทั้งเอาใจช่วยให้ประเทศไทยมีสถานการณ์ปกติ และคาดหวังบทบาทของไทยทั้งในภูมิภาคและระดับโลก
[ข่าวทำเนียบ- 6/10/2553]